ปัจจัยต้นทุนของงาน CNC Machine มักขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
เคยสงสัยกันมั้ย ว่าการตีราคาของการผลิตชิ้นงานต่างๆมีปัจจัยพื้นฐานอะไรบ้าง แล้วการออกแบบอย่างไรถึงจะเหมาะสมและช่วยลดต้นทุนได้ มาทำความรู้จักกับปัจจัยต่างๆแบบคร่าวๆกันดีกว่า
ถ้าหากจะให้คำตอบง่ายๆว่าต้นทุนของชิ้นงานคืออะไรบ้าง ให้ตอบสั้นๆก็คือ ความเหมาะสมและเข้ากันได้ของการออกแบบชิ้นงานกับธรรมชาติของเครื่องจักร อย่างเช่น เวลาที่เครื่องจักรทำงาน การเซ็ตติ้งก่อนเริ่มงาน (Start-up Costs) วัตถุดิบ และปัจจัยอื่นๆ อย่าง แบบที่ซับซ้อน รูปทรงที่มีฐานบาง รูปทรงกำแพงที่มีความบาง (Thin Walls) การคว้านเนื้อวัตถุที่เยอะเกินความจำเป็น ซึ่งมีผลต่อความเร็วของการทำงาน
Tips เบื้องต้นในการลดต้นทุนการผลิต
1.ดีไซน์ที่มีการขุดลึก (Deep Pockets) เพราะการที่มีการเฉือนวัตถุดิบออกที่ค่อนข้างมาก ทำให้เครื่องจักรใช้เวลาที่มากขึ้น ถ้าดีไซน์มีการคว้านในรูปทรงที่ยากก็อาจจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเจาะเพื่อให้ได้ความลึก หรือรูปทรงที่เราต้องการ
2.มุมฉาก 90 องศาด้านใน เมื่อเจอในส่วนนี้กระบวนการผลิตมักจะหยุดเพราะต้องการ การวางแผนสำหรับการตัดให้ได้มุมฉาก เนื่องจากหัวเจาะนั้นจะหมุนเป็นวงกลม ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่หัวเจาะต่อเนื่องได้และจะไม่ได้มุมฉาก ถ้าหากไม่จำเป็นการทำมุมโค้งสามารถสร้างความแตกต่างทางราคาได้เลยทีเดียว ยิ่งมีรัศมีโค้งกว้างเท่าไหร่ก็สามารถใช้หัวเจาะที่ใหญ่ขึ้นได้เท่านั้น นั่นหมายถึงกระบวนการที่ง่ายขึ้นด้วย
3.เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Tight Tolerance) เมื่อดีไซน์นั้นมีการประกอบหรือต้องการความคลาดเคลื่อนต่ำนั้นสามารถเพิ่มต้นทุนได้พอสมควร จินตนาการว่า เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้มักจะเป็นเป็น +/- 0.005” แต่ถ้าหากเราต้องการที่ 0.0005” ล่ะ? การเพิ่ม 0 เพียงหนึ่งตัวสร้างความแตกต่างมหาศาล คือความแตกต่างระหว่างเส้นผมกับเซลล์เม็ดเลือดเลยทีเดียว และพื้นผิวด้านในก็มีความยากมากขึ้นต่อกระบวนการที่ต้องการความละเอียดสูงอีกด้วย
4.รูปทรงที่เป็นกำแพงบางๆ เหตุผลก็คือมันมักจะใช้เวลาในการผลิตมากขึ้นเพราะความบอบบางนั่นเอง จากแรงกดของเครื่องจักรที่มีต่อวัตถุดิบ การมีฐานหรือรูปทรงที่บางอาจทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย ฉะนั้นถ้าหากน้ำหนักไม่ใช่ปัจจัยสำคัญแล้ว ควรจะพิจารณาหลีกเลี่ยง
5.ความลึกและขนาดของการต๊าป (Tapped) มักจะมีความเชื่อที่ว่ายิ่งลึกและขนาดใหญ่ยิ่งมีความแน่น แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่เสมอไป การขยายขนาดและความลึกที่เกินความเหมาะสมมีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในความเป็นจริงการหมุนสกรูเพียงสองถึงสามมีส่วนช่วยยึดแรงเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว หรือช่องสกรูที่เล็กมากๆอาจจะต้องการ การเจาะด้วยมือก็เพิ่มต้นทุนได้เช่นกัน
6. ชิ้นส่วนหลายชิ้นที่มีความซับซ้อน ถ้าหากการออกแบบของเราจำเป็นต้องมีความซับซ้อนหลายชิ้นจริงๆ ให้ลองพิจารณาดูว่างานของเรานั้นสามารถย่อยเป็นชิ้นที่มากขึ้นแต่ผลิตได้ง่ายขึ้นหรือไม่
ยังมีปัจจัยอีกมากมายจากการออกแบบที่หลากหลายได้อย่างไม่รู้จบ นี่เป็นเพียงพื้นฐานที่เข้าใจได้ง่ายๆเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น ไม่ใช่แค่เพียงการลดต้นทุนงานต้นแบบเท่านั้น การออกแบบที่ชาญฉลาดสามารถลดต้นทุนและเวลาของสินค้าที่มีจำนวนมากไปจนถึง Mass Production ได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว
ข้อมูลอ้างอิง : facebook VULCORN